|
|
เถ้าแก่มือใหม่ |
"อยากมีกิจการเป็นของตนเอง จะจดทะเบียนจัดตั้งแบบไหนดี ?" |
|
ท่านทราบหรือไม่ว่า การเริ่มต้นธุรกิจโดยการเป็นธุรกิจของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร
รูปแบบธุรกิจข้างต้นต่างมีทั้งส่วนดีส่วนเสีย ขึ้นกับความเหมาะสมของขนาดและประเภทธุรกิจ ดังนั้นก่อนการเริ่มต้นธุรกิจ เจ้าของธุรกิจควรตัดสินใจว่า ควรจะจัดตั้งธุรกิจแบบใดจึงจะเหมาะสมกับธุรกิจของท่าน เพื่อให้กิจการมีต้นทุนต่ำและมีกำไรสูงสุด
1. ธุรกิจบุคคลธรรมดา เป็นเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ไม่ได้ร่วมลงทุนกับบุคคลอื่น ทำให้มีอิสระในการดำเนินงานและการตัดสินใจได้อย่างเต็มที่ ผลกำไรที่เกิดขึ้นก็ไม่ต้องแบ่งให้ใคร แต่เจ้าของธุรกิจจะต้องรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการที่เกิดขึ้นไม่จำกัดจำนวน
การจัดทำบัญชีและเสียภาษี ข้อดีของธุรกิจบุคคลธรรมดาคือไม่ต้องยุ่งยากในการจัดทำบัญชี แต่ต้องเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าตามฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นการตกลงทำกิจการร่วมกันและแบ่งกำไรกันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในหนี้สินของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งห้างหุ้นส่วนชนิดนี้กฏหมายไม่ได้บังคับให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จึงเสมือนมีสภาพเป็นคณะบุคคล ซึ่งหากเลือกจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะเรียกว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล" ซึ่งความรับผิดในหนี้ของหุ้นส่วน จะจำกัดเพียง 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกจากการเป็นหุ้นส่วนเท่านั้น
การจัดทำบัญชีและเสียภาษี ไม่ต้องยุ่งยากในการจัดทำบัญชี เหมือนกรณีบุคคลธรรมดา แต่การเสียภาษีเงินได้ของคณะบุคคลจะเสียภาษีเงินได้เหมือนกับบุคคลธรรมดาที่แยกออกจากตัวบุคคล ถือเป็นบุคคลอีกคนหนึ่งตามมาตรา 56 วรรค(2) ของประมวลรัษฏากร นอกจากนี้เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนชนิดนี้จะต้องจดทะเบียนนิติบุคคลตามกฏหมาย ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถโอนหุ้นให้บุคคลอื่นได้ไม่เหมือนกับห้างหุ้นส่วนประเภทแรก ลักษณะของห้างหุ้นส่วนประเภทนี้จะมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภทด้วยกัน คือ หุ้นส่วนที่เป็นต้องรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการไม่จำกัดจำนวน และหุ้นส่วนที่รับผิดชอบในหนี้สินของกิจการจำกัดจำนวนไม่เกินจำนวนเงินที่ตนได้ลงทุนไป
การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีเหมือนกรณีตั้งบริษัท และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
3. บริษัทจำกัด การจัดตั้งกิจการจะต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 7 คน โดยการแบ่งเงินลงทุนออกเป็นหุ้น มีมูลค่าหุ้นละเท่าๆกัน ผู้ถือหุ้นจำกัดความรับผิดไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ยังส่งไม่ครบ ดำเนินโดยคณะกรรมการบริษัท ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือมากกว่า
การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการเลือกรูปแบบองค์กร
รายละเอียด |
เจ้าของคนเดียว |
ห้างหุ้นส่วน |
บริษัทจำกัด |
1. เงินลงทุน |
มีเงินทุนจำกัด |
ระดมทุนได้มากขึ้น |
ระดมทุนได้ง่ายและมาก |
2. การบริหารงาน |
มีอำนาจเต็มที่ |
ต้องปรึกษากับหุ้นส่วน |
บริหารโดยคณะกรรมการบริษัท |
3. ความรับผิดในหนี้สิน |
เต็มจำนวน |
เต็มจำนวน/จำกัด |
เฉพาะมูลค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบ |
4. ผลกำไรขาดทุน |
ไม่ต้องแบ่งใคร |
เฉลี่ยให้ผู้เป็นหุ้นส่วน |
จ่ายเป็นเงินปันผลตามจำนวนหุ้นที่ถือ |
5. ภาษีเงินได้ |
ตามอัตราก้าวหน้า สูงถึง 37% |
ตามอัตราก้าวหน้า สูงถึง 37% ถ้าจดเป็นนิติฯ จะเสีย 15%-30% กรณีขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี |
อัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ (SME เสียภาษีตามอัตราก้าวหน้า 15%-30%) ในกรณีขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี |
6. ความน่าเชื่อถือ |
น้อย |
ปานกลาง |
มาก |
|
|
|